Russia


การปฏิวัติรัสเซีย



การชุมนุมเรียกร้องของประชาชนในเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์
ที่มา (https://i2.wp.com/nzz-img.s3.amazonaws.com/2017/3/3/f473a62b-2157-458f-a793-f37998530e8c.jpeg)

               รัสเซียในตอนต้นของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 กำลังเข้าสู่ยุคของการขยายตัวของอุตสาหกรรม ประชาชนเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรรมมาเป็นกรรมกร กรรมกรเหล่านี้เริ่มมีแนวคิดโน้มเอียงเข้าหาแนวทางสังคมนิยม ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงตกต่ำ ในปี ค.ศ.1898 ได้มีการก่อตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตย (Russin Social Democatic Party) โดยมีนโยบายล้มล้างการปกครองในระบบเก่า (Ancient Regime) กรรมกรนัดหยุดงาน เกิดความวุ่นวายทั่วประเทศ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้ จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติรัสเซียขึ้นในปี ค.ศ.1917
สาเหตุของการปฏิวัติในเดือนกุมภาพันธ์ (มีนาคม) ค.ศ. 1917
                1. ความไม่พอใจในระบบการปกครองที่ไร้ประสิทธิภาพของราชวงศ์โรมานอฟ ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ผลสืบเนื่องมาจากสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ.1904-1905 ทำให้เศรษฐกิจของรัสเซียตกต่ำ ประกอบกับรัสเซียแพ้สงคราม มีผลตามมาคือ พระชื่อ กาปอน ได้นำฝูงชนเข้ามาเรียกร้องในพระราชวังเซ็นต์ปีเตอร์เบิร์ก เรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมือง เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายลดชั่วโมงการทำงาน และแก้ไขความทุกข์ยากของราษฎร แต่ทหารรักษาพระราชวังได้ยิงปืนเข้าใส่ฝูงชน เกิดการล้มตายเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ในวันนั้นรู้จักกันนาม Bloody Sunday
ประชาชนเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้นปกครองประเทศ รัฐบาลยังต้องเผชิญปัญหาจากความไม่พอใจของกลุ่มชาวนาและกรรมกรที่ต้องแบกภาระภาษีของประเทศไว้ K. นิโคลัสที่ 2 ได้ประทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชน และจัดตั้งสภาดูมา (DUMA) ขึ้นมาเพื่อเป็นปากเสียงของประชาชน แต่พระองค์เป็นกษัตริย์กึ่งรัฐธรรมนูญ ทำให้ประชาชนไม่พอใจใน K.นิโคลัสที่ 2
                2. เป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่ดี ทำให้เกิดแนวคิดสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์
                3. K.นิโคลัสที่ 2 เกิดความขัดแย้งกับสภาดูมา จึงยุบสภาและแต่งตั้งตนเองเข้าไปแทน
                4. เกิดปัญหาภายในราชสำนัก K.ซาร์นิโคลัสที่ 2 ไร้ความสามารถในการปกครอง เมื่อทรงไปบัญชาการบในส่วนแนวหน้า อำนาจการปกครองส่วนใหญ่จึงตกอยู่กับซารีนาอเล็กซาดรา ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลการครอบงำของรัชปูติน ทำให้เกิดการวิภาควิจารณ์จนราชสำนักเสียหายมาก
                5. การที่รัสเซียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งที่ไม่มีความพร้อม รบไม่เป็น ขาดแคลนอาวุธ กล่าวคือทหารรัสเซียมีจำนวนมากแต่ก็เสียชีวิตมาก และผลจากสงครามทำให้เศรษฐกิจของรัสเซียตกต่ำ

ผลของการปฏิวัติในเดือนกุมภาพันธ์ (มีนาคม) ค.ศ.1917
                การล้มล้างราชวงศ์โรมานอฟ ซึ่งปกครองรัสเซียมานานกว่า 300 ปีต้องจบลง มีรัฐบาลชั่วคราวขึ้นมาปกครองแทนโดยเจ้าชายลวอฟภายใต้การนำของสภาดูมา ต่อมาภายหลังเจ้าชายลวอฟลาออกจากการเป็นหัวหน้ารัฐบาล เคอเรนสกี้เข้ามาเป็นหัวหน้ารัฐบาลชั่วคราวแทน แต่รัฐบาลภายของเคอเรนสกี้ก็ยังไม่ถอนรัสเซียออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษและฝรั่งเศส อีกทั้งสหรัฐอเมริกายังขู่ว่าจะไม่ให้กู้เงิน
ในระหว่างคืนวันที่ 6 พ.ย. ค.ศ.1917 (ตามปฏิทินแบบสากล) พรรคบอลเชวิคได้ทำการยึดอำนาจในกรุงเปรโตกราดโดยการยึดสถานที่สำคัญของประเทศ ให้เรือรบระดมยิงใส่พระราชวังฤดูหนาว จนรัฐบาลเคเรนสกี้ไม่สามารถหยุดยั้งได้ ต่อมาตอนสายของวันที่ 7 พ.ย. ค.ศ.1917 เลนินจึงจัดการประชุมสภาโซเวียของประชาชนชาวรัสเซียทั้งมวลว่ารัฐบาลชั่วคราวได้ล้มสลายแล้วและเปลี่ยนชื่อเป็นสภาผู้ตรวจการของประชาชนให้มีอำนาจในการปริหารประเทศ นิโคลาย เลนินดำรงตำแหน่งประทานสภาผู้ตรวจการของประชาชน


                สาเหตุของการปฏิวัติรัสเซียใน เดือนตุลาคม (พฤศจิกายน) ค.ศ.1917
                1. ชนกลุ่มน้อยต้องการสิทธิในการการเมืองการปกครอง
                2. รัสเซียยังคงเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนเบื่อหน่ายสงคราม
                3. เกิดความขัดแย้งของรัฐบาลชั่วคราวกับทหาร ทำให้รัฐบาลชั่วคราวอ่อนแอ เป็นเหตุให้พวกบอลเชวิคทำการทำการปฏิวัติในเดือน ต.ค.(พ.ย.) ค.ศ.1917 โดยมีเลนินที่เดินทางมาจากฟินแลนด์เข้ามาเพื่อเป็นผู้นำการปฏิวัติ โดยมอบหน้าทางการทหารให้กับทรอสกี้ ซึ่งผลก็คือฝ่ายบอลเชวิคเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ
                ผลของการปฏิวัติใน เดือนตุลาคม (พฤศจิกายน) ค.ศ.1917
                1. พรรคบอลเชวิคเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคคอมมูนิสต์ รัสเซียเป็นประเทศแรกที่ปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์
                2. เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลคอมมูนิสต์กับพวกรัสเซียขาว (White Russians) ประกอบด้วยพวกนิยมกษัตริย์ พวกนิยมเสรี ที่ต้องการให้รัสเซียมีการปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พวกรัสเซียขาวไม่สามารถรวมตัวกันได้ จึงทำให้รัฐบาลคอมมูนิสต์ยังคงอำนาจไว้
                3. กรรมกรได้รับอนุญาตให้เข้าควบคุมโรงงาน
                4. ทรัพย์สินของวัดและของพวกต่อต้านรัฐบาลถูกยึดเข้ารัฐบาล
                5. ทำสนธิสัญญาสงบศึกกับเยรมนี เบรสท์-ลิทอป (Ttreaty Of Brest-Litovsk) ฟินแลนด์ แอสโทเนีย ลัทเวีย ลิธัวเนีย โปแลนด์และยูเครนเป็นเอกราช


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญ

England

America