Jean Jacques Rousseau
ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau)
ประวัติของรุสโซ
ฌอง
ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง
นักประพันธ์เพลงที่ฝึกฝนด้วยตัวเองแห่งยุคแสงสว่างและเป็นนักปรัชญาสังคมชาวสวิส
เชื้อสายฝรั่งเศสผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ใน คศ.1789 รุสโซ เกิดที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 28
มิถุนายน 2255 ตอนรุสโซ อายุ 6 ขวบ พ่อของเขาได้ติดคุก
เขาจึงต้องไปอาศัยอยู่กับลุง รุสโซหัดอ่านหนังสือมา
ตั้งแต่เด็กและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตอนรุสโซ อายุ 16 ปี ได้ออกจากเจนีวา
เดินทางท่องเที่ยวและได้หางานทำไป เรื่อยๆ จนได้เป็นผู้ช่วยทูต ในปี พศ.2293
The Social Contract, or Principles of Political of political Right เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ Discourse on the Arts and Sciences ซึ่งประสบความสำเร็จและสร้าง ชื่อเสียงให้แก่เขาเป็นอย่างมาก อีก 11 ปี
ต่อมาก็ตีพิมพ์นิยายเรื่องแรกชื่อ Julie,ou la nouvelle Holoise (The New
Heloise) จากนั้นก็ได้มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอทั้งหนังสือวิชาการและนิยาย
ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่และ The Confessions of Jean-Jacques
รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดีแต่สังคมทำให้มนุษย์เป็นคนเลว
แปดเปื้อน และมนุษย์มีเสรีภาพตามธรรมชาติโดยไม่จำกัดแต่เมื่อมนุษย์มารวมกันเป็นสังคมจึงต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพบางส่วนโดยการทำสัญญาประชาคม
(The social Contract ) เพื่อไม่ให้เกิดการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของกันและกัน รุสโซกล่าวว่า “มนุษย์เกิดมาพร้อมเสรีภาพแต่ทุกหนทุกแห่ง
เขาต้องตกอยู่ในเครื่องพันธนาการ” ความคิดของรุสโซมีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส
ในปี 2332 อย่างมาก และได้พัฒนาเป็นทฤษฎีสังคมนิยม (Socialist theory) และมีส่วนสำคัญของการพัฒนาการทางแนวคิดโรแมนติก (Romanticism)
ปรัชญาของรุสโซ
รุสโซสอนให้คนกลับไปหาธรรมชาติ
(Back to Nature) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า “ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้เป็นคนเลว” และ
“เหตุผลมีประโยชน์แต่มิใช่คำตอบของชีวิต
มนุษย์จึงควรต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของตนเองให้มากกว่าเหตุผล”
กำเนิดสังคม
รุสโซอธิบายการกำเนิดสังคมว่ามีสาเหตุมาจากการเกิดและการขยายการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวก็บังเกิดขึ้น
รุสโซ ชี้ถึงปัจจัยสำคัญคือ พัฒนาการทางเศรษฐกิจ และความ รักแบบโรแมนติก
เขาเน้นถึงบทบาทสำคัญของเศรษฐกิจที่มีต่อการก่อตัวของสังคมเมือง (civil –Society) ดังที่กล่าวไว้ว่า “คนแรกที่กั้นรั้วแผ่นดินคือผู้เริ่มสังคมเมืองที่แท้จริง”
การคิดค้นการเกษตรกรรมที่นำไปสู่การสร้าง กฎ กติกา
เพื่อความยุติธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก และในที่สุดแล้ว ด้วยการแนะนำของผู้มั่งคั่ง (the
rich) ก็จะนำไปสู่การสถาปนาการเมืองการปกครองขึ้นมาหมายความว่าการเกิดการปกครองขึ้นมานั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าปราศจากเงื่อนไขของการเกิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวในที่ดินมาก่อนหน้าและแท้ที่จริงแล้วพัฒนาการการเกษตรที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลพวงมาจากการเกิดครอบครัวก่อนหน้านี้
แต่ก็เสนอด้วยว่า “เศรษฐกิจการเกษตรในตัวของมันเอง
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองพัฒนาการของความต้องการทางเพศ (erotic
developments) เรื่องเพศ (sexuality) คือสะพานนำไปสู่การเมือง
โดยมีนัยของการเปลี่ยนแปลงเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์เป็นปัจจัยเงื่อนไขที่จำเป็นอย่างยิ่งในการกำเนิดสังคมการเมือง
รุสโซอธิบายความขัดแย้งความไร้ระเบียบ (disorder) ที่อุบัติขึ้นเมื่อสังคมได้ถือกำเนิดไว้ดังนี้คือความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเมื่อสภาวะของมนุษย์ในสังคมไม่เอื้ออำนวยหรือไม่เหมาะสมกับพวกเขา
ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมนุษย์มองมนุษย์ด้วยกันว่า
เป็นศัตรูที่แข่งขันกับพวกเขาเพื่อความโดดเด่นหรือเพื่อความเหนือกว่าหรือเพื่อสิ่งที่พึงปรารถนาและสุดท้ายความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ภายในปัจเจก-บุคคล
เมื่อจิตใจของเขาตกอยู่ภายใต้พันธนาการของกิเลสตัณหาอันไม่มีขีดจำกัด
อารยธรรมหรือความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการนี้ทำให้ศีลธรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์เสื่อมทรามลงเสียมากกว่าที่จะทำให้ดีขึ้น
เมื่อมนุษย์ตกเป็นทาสของศิลปะวิทยาการ
เสรีภาพที่เคยมีและเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ก็ได้สูญหายไป
ด้วยเหตุนี้เองที่รุสโซ
ได้กล่าวขึ้นต้นใน The Social Contract ไว้ว่า
“มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งเขาอยู่ในพันธนาการ
ใครที่คิดว่าตนเป็นนายคนอื่น ย่อมไม่วายจะกลับเป็นเสียทาสยิ่งกว่า” ความผันแปรเช่นนี้เกิด ขึ้นได้อย่างไรไม่ทราบ อะไรเล่าที่จะพึงทำให้ความผันแปรนั้นกลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อนี้คิดว่าจะตอบปัญหาได้เพราะในสภาวะสังคมมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดระเบียบเงื่อนไขที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มนุษย์จะดำรงชีวิตอยู่โดยไม่เหยียบหัว
แย่งชิง หลอกลวง ทรยศ และทำลายซึ่งกันและกัน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมเขาเสนอให้มีการสร้างหรือการจัดระเบียบสังคมใหม่ขึ้นมา
นั่นคือเราจะทำอย่างไรที่จะหารูปแบบของการอยู่ร่วมกันที่ สามารถปกป้องบุคคลและสิ่งที่พึงปรารถนาของสมาชิกแต่ละคนในสังคมโดยการร่วมพลังของทุกคนและเป็นรูปแบบการอยู่ร่วมกันที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคน
แม้ว่าจะรวมตัวเข้ากันกับคนอื่นแต่ก็มิได้ต้องเชื่อฟังใคร นอกจากตัวเขาเองและยังคงมีอิสรเสรีเหมือนแต่ก่อน
คำตอบนั้นคือ “สัญญาประชาคม” (Social Contract ) คือคำตอบสำหรับการหลุดจากสภาวะอันไม่อำนวยต่อการดำรงชีวิตความเป็นมนุษย์มาทำสัญญาร่วมกัน
หมายถึงการยอมเสียเสรีภาพตามธรรมชาติที่ติดตัวมาแต่กำเนิดของเขาเพื่อแลกกับเสรีภาพทางสังคมการเมือง
รุสโซ กล่าวว่า แก่นของสัญญาประชาคม คือการที่พวกเราแต่ละคนยอมสละตัวเองและอำนาจหน้าที่
ที่เขามีอยู่ทั้งหมดให้กับส่วนรวมภายใต้การนำสูงสุดของ “เจตจำนงร่วม”
และในฐานะองค์รวมเราได้รวมสมาชิกทุกคนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทั้ง
หมดที่แบ่งแยกไม่ได้อันประกอบด้วยจำนวนสมาชิกที่มีจำนวนเท่ากับผู้ออกเสียงในที่ประชุมซึ่งทำให้องค์รวมดังกล่าวมีชีวิต
มีเจตจำนง มีตัวตน และมีเอกภาพ ของตัวเองขึ้นมา องค์รวมทางการเมืองหรือบุคคลสาธารณะที่ก่อตัวขึ้นนี้
คือสังคมเมืองหรือสาธารณรัฐและในสถานะที่เป็นผู้ถูกกระทำซึ่งเรียกว่ารัฐ
แต่ถ้าอยู่ในสถานะผู้ถูกกระทำ เรียกว่า องค์อธิปัตย์ (the sovereign) และเมื่อมีการเปรียบเทียบระหว่างองค์อธิปัตย์ด้วยกัน เราเรียกว่า อำนาจ (power) และสำหรับผู้ที่เข้าร่วมอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ เรียกว่า “ประชาชน” และเรียกว่า “พลเมือง”
ตราบเท่าที่พวกเขามีส่วนร่วมในอำนาจอธิปไตย และเรียกพวกเขาว่า “ราษฎร” ตราบเท่าที่พวกเขาอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐ
รุสโซกับโลกปัจจุบัน
ในเรื่องมิติแห่งเวลารุสโซ
ไม่เชื่อว่าสังคมจะสามารถย้อนเวลากลับไปสู่สภาวะอันเปล่าเปลือยเหมือนเช่นตอนแรกเริ่มได้อีกและที่สำคัญรุสโซเชื่อในความสามารถในการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์แบบของมนุษย์
ดังนั้นเส้นทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ย่อมต้องเดินหน้าต่อไปมากกว่าที่จะถอยหลังมนุษย์และเจตจำนงเสรีในตัวเขาย่อมจะช่วยให้เขาก้าวเดินต่อไปและรุสโซเชื่อว่ามนุษย์สามารถคิดค้นและออกแบบสร้างสรรค์
“ เจตจำนงทั่วไป” อันเป็นสิ่งประดิษฐ์ในการสร้างระเบียบใหม่ให้กับสังคมที่ไร้ระเบียบที่มิได้เป็นผลผลิตของธรรมชาติที่มีระเบียบของมันเอง
ที่ครั้งหนึ่งมนุษย์อาจเคยอยู่กับมันมานานแล้วและไม่มีวันที่จะหวนกลับคืนไปได้จะทำได้เพียงแค่จินตนาการ
แนวคิดที่สำคัญของรุสโซ
1.
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพถ้าไม่มีเสรีภาพก็ไม่ใช่มนุษย์
2.
ความชอบธรรมของผู้มีอำนาจ อำนาจย่อมไม่ก่อให้เกิดธรรม เว้นแต่ผู้ใช้อำนาจจะใช้อำนาจโดยความชอบธรรมเท่านั้น
ต้องใช้อำนาจด้วยความยุติธรรมถึงจะมีความชอบธรรม
3.
การเป็นทาส ผู้ใดยอมรับความเป็นทาส ผู้นั้นเห็นว่าทาสไม่ใช่มนุษย์ เพราะทาสไม่มีเสรีภาพ
แนวคิดนี้ของรุสโซแตกต่างกับโทมัส ฮ๊อบส์กล่าวว่า สันติภาพหรือความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น
แต่รุสโซกล่าวว่าสันติภาพและความปลอดภัยอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอจะต้องมีเสรีภาพด้วย
เหมือนในคุก มีสันติภาพแต่ไม่มีเสรึภาพจึงไม่มีใครอยากอยู่ในคุก
4.
สัญญาประชาคม รุสโซ เสนอให้ประชาชนทำสัญญาประชาคมร่วมกัน เรียกว่า สัญญาประชาคม (Social Contract) เพื่อสร้างประชาคมการเมืองขึ้น
5.
ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่ประชุมร่วมกันในฐานะ
ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยเพื่อทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย
6.
ประชาชนทำหน้าที่เป็น พลเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
7.
เจตจำนงทั่วไป ในฐานะผู้ทรงอำนาจอธิปไตย ประชาชนต้องบัญญัติกฎหมายให้ตอบสนองเจตจำนงทั่วไป
ของประชาชน
8.
การเลือกผู้แทนราษฎร รุสโซ เห็นว่าการเลือกผู้แทนราษฎรคือจุดเริ่มต้นของอวสานแห่งเสรีภาพของเสรีชน
รุสโซ เห็นว่าประชาชนไม่ควรมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ใครทั้งสิ้น
แนวคิดรุสโซเป็นแนวคิดการปกครองแบบตรงที่ประชาชนปกครองประเทศโดยตรงแต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้เนื่องจากมี
ประชากรเป็นจำนวนมากและในโลกปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยโดยตัวแทนทั้งหมด
ข้อความที่ว่า
“มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งอยู่ในพันธนาการ”
นั่นคือการตกผลึกทางความคิด รุสโซ ก่อนหน้างานเขียนชิ้นสำคัญ ก่อน “Social
Contract” ก็คือ “The
Second Discourse” จากเริ่มต้นที่ มนุษย์เกิดมาเสรี มีอิสรเสรีภาพ
ภายใต้สภาวะธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึงเรียบง่าย ไม่มีความขัดแย้ง
แต่เมื่อมนุษย์ตัดสินใจโดยเสรี ไม่มีใครมาบังคับและเลือกที่จะอยู่ร่วมกันเป็นคู่หลายๆ
คู่ก็เป็นสังคมจนกลายเป็นรัฐ มีการแบ่งงานกันทำอันเป็นผลมาจากการที่มีพันธนาการต่อกันและกัน
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์พัฒนาความเป็นอยู่ของตัวเอง มีเวลาสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
นั่นคือก้าวแรกของการ พัฒนาไปสู่การมีอารยธรรมของมนุษยชาตินั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น