John Locke
จอห์น ล๊อค (John Locke, ค.ศ.1632 – 1704 )
ประวัติของล็อค
ล็อค (John Locke) เกิดเมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175
นักปรัชญาชาวอังกฤษหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ปรัชญาสำนักประสบการณ์นิยม (Empiricism) เกิดที่เมืองซอมเมอร์เซ็ต (Somerset) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ บิดาเป็นทนายความล็อคได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนของชนชั้นสูงที่กรุงลอนดอนและจบแพทย์จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด
เริ่มทำงานวิจัยทางการแพทย์ร่วมทีมกับ เอิร์ล แห่ง ชาฟท์สเบอรี (Anthony Ashley-Cooper, 1st Earl of Shaftesbury)
แนวคิดของล็อค
ล็อคเป็นนักปรัชญาคนสำคัญแห่งสำนัก “ประสบการณ์นิยม” หรือ"ประจักษ์นิยม” ซึ่งเชื่อว่าความรู้ทุกอย่างจะต้องได้มาจากประสบการณ์
เขาบอกว่าจิตของเด็กเกิดใหม่เปรียบเสมือน “กระดาษที่ยังว่างเปล่า” ("blank
slate" หรือ "tabula rasa") จนกว่าประสบการณ์จะได้บันทึกอะไรลงไป
ความคิดของล็อคมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการของ
ญาณวิทยา (epistemology) ปรัชญาการเมือง
(political philosophy) กฎหมาย การปฏิวัติอเมริกัน
และเป็นพื้นฐานของกฎหมายอเมริกัน นับว่าล็อค
เป็นนักปรัชญาที่มีอิทธิพลมากที่สุดแห่งยุคแสงสว่างทางปัญญา (Enlightenment) ล็อคเสียชีวิตในวันที่ 28 ตุลาคม 2247
ล็อค
นำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่อง Trust ซึ่งมีอิทธิพลต่อหลักการของระบอบประชาธิปไตยมาก
และถูกนำไปใช้ในคำประกาศเอกราชหรือหลักการปกครองของสหรัฐฯ เรียกว่า Pure
Locke เพราะได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ Locke มาก
มีแนวความคิดที่สำคัญ ดังนี้
1. สภาวะธรรมชาติ เป็นสภาวะทางธรรมชาติโดยสมบูรณ์
เป็นสภาวะแห่งความเสมอภาค เพราะไม่มีกฎเกณฑ์ หรือกติกาที่จะมากำหนด
หรือจำกัดเสรีภาพ
2. สภาวะธรรมชาติ
มีข้อบกพร่อง 3 ประการ คือ ไม่มีกฎหมาย
ไม่มีตุลาการ ไม่มีอำนาจบริหาร
3. มนุษย์ต้องได้รับความยุติธรรมในการใช้สิทธิทางธรรมชาติ
Locke จึงเสนอให้ประชาชนทำสัญญาประชาคมร่วมกัน
4. โดยยอมสละเสรีภาพทางธรรมชาติบางประการ
เพื่อสร้างประชาคมการเมืองที่สามารถใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
ของประชาชนอย่างเสมอภาค
5. ประชาคมการเมืองที่ตั้งขึ้น มีลักษณะเหมือน “ทรัสต์“ หรือบริษัทผู้ถือหุ้นเป็นผู้ถือหุ้นมีอำนาจถอดถอนผู้บริหารชุดนี้ออกได้
และเลือกตั้งชุดใหม่เข้าไปบริหารแทนด้วยหลักการนี้
ให้ประชาคมการเมืองมีลักษณะเหมือน Trust คือ
ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนเข้ามาทำหน้าที่ปกครองโดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง
ซึ่งแต่ละเขตเป็นผู้เลือกผู้แทนเข้ามา และแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ โดยทั้ง 3
ฝ่ายเป็นอิสระจากกัน และให้นิติบัญญัติมีอำนาจสูงสุด (Supreme Power) ฝ่ายบริหาร ต้อง บริหารตามที่กฎหมายกำหนด
สิ่งที่ควรรู้ : * พระราชบัญญัติ
(พรบ.) เป็นกฎหมายที่ต้องเสนอผ่านกระบวนการของการบัญญัติกฎหมายทั้งหมด
มีการอภิปรายตามวาระก่อนในหลวงลงพระปรมาภิไธยจนมีผลบังคับใช้
* พระราชกำหนด (พรก.)
เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐบาลประกาศใช้กฎหมายได้ในขณะที่สภาปิดสมัยประชุม และมีเรื่องด่วน 4 ประการ เช่น ภัยพิบัติต่อประเทศ,วิกฤตที่กระเทือนสภาวะเศรษฐกิจ, ภัยต่อความมั่นคงของประเทศ,
ความเร่งด่วนที่เกี่ยวกับการเงินของประเทศ (ดูเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญ)
รัฐบาลจึงสามารถออกพระราชกำหนดได้ และมีผลบังคับใช้ทันทีเมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
เช่น พรก. สัญญานสื่อโทรคมนาคมหรือมือถือ
แต่ทันทีที่เปิดสมัยประชุมสภาให้นำพระราชกำหนดนั้นเสนอต่อสภาเป็นวาระแรก
แต่ห้ามสภาอภิปราย ทำได้อย่างเดียว คือ ลงมติว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน
ในกรณีรัฐบาลปัจจุบันมีเสียงข้างมาก พระราชกำหนดก็จะผ่าน แต่หากลงมติไม่ผ่านให้
พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ไม่มีผลย้อนหลังในกิจกรรมที่ได้บังคับใช้ไปแล้ว
* พระราชกฤษฎีกา :
มีกฎหมายพระราชบัญญัติบอกไว้ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ในกรณีที่จะตั้งหน่วยงานราชการใหม่ หรือ การยุบหน่วยงานที่มีอยู่
ให้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา มีกฎหมายแม่บังคับอยู่ คือ พระราชกำหนด เป็น กฎหมายลูก
ที่ต้องอ้างอิงกฎหมายแม่
กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติเป็น Supreme Power ไม่ได้หมายความว่า จะมีอำนาจเหนือประชาชน เพราะ Locke ให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย หากฝ่ายนิติบัญญัติ
บัญญัติกฎหมายมาไม่ถูกต้อง และประชาชนต้องการให้เปลี่ยน และรัฐบาลไม่ยอมแก้ไข
ประชาชนสามารถเข้าชื่อถอดถอน หรือไม่เลือกตั้งเข้ามาอีกสมัยหน้า
และถ้าถอดถอนแล้วให้เลือกผู้แทนเข้ามาใหม่ จะเห็นได้ว่าข้อเสนอของ Lock เป็นรูปธรรม สามารถปฏิบัติได้ชัดเจน
จึงมีอิทธิพลต่อระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันมาก
6. Locke แยกให้เห็นว่ารัฐเป็นเป็นเรื่องส่วนรวม
และศาสนาเป็นเรื่องส่วนบุคคล ในอดีตยุคหนึ่งของตะวันตกศาสนจักรยิ่งใหญ่มาก
ใครจะเป็นกษัตริย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากศาสนจักร Locke เห็นว่าทั้งศาสนจักร
และอาณาจักรไม่ควรแทรกแซงกันและกัน ศาสนาเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล
แต่ในเรื่องของรัฐหรือการเมืองนั้น Locke เห็นว่าเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องรับผิดชอบร่วมกัน
ดังนั้น ประชาชนต้องเข้าไปมีส่วนร่วม
*
การกำหนดให้ประชาชนต้องไปเลือกตั้ง ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่,
ไม่เป็น
เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของประชาชน ที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
*
โดยปกติ รัฐมีการละเมิดเสรีภาพส่วนบุคคล เช่น
การเวนคืนที่ดินเพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ การบังคับให้เสียภาษี การเกณฑ์ทหาร
จึงจะเห็นได้ว่าเสรีภาพไม่เหลืออยู่ในสังคมแล้ว และเสรีภาพมากับความรับผิดชอบ เช่น
ต้องไปเกณฑ์ทหารเพราะ เราต้องปกป้องประเทศ ร่วมกัน เป็นหน้าที่
ที่ต้องสละชีพเพื่อชาติ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น