Rene Descartes

เรอเน เดส์คาร์ท (Rene Descartes)

เรอเน เดส์คาร์ท (Rene Descartes) เขาเป็นผู้ประกาศใช้ลัทธิเหตุผล สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ในทางปรัชญาที่แตกต่างกันไปจากสมัยกลาง เขายังเชื่อในความรู้ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เขาสอนว่าความจริงที่ประจักษ์พยาน โดยไม่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ทางประสาท จะแฝงอยู่ในจิตนั่นเอง คงไม่อาจจะขึ้นถึงความจริงนี้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เพราะความจริงนี้ เป็นส่วนประกอบของจิตมาตั้งแต่เกิดแล้ว
ประวัติ
เรอเน เดส์การ์ตส์ (René Descartes)  เกิดที่ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ในปี ค.ศ.1596 หรือ ปี พ.ศ. 2139  ที่เมือง La Haye (now Descartes),Touraine,ประเทศฝรั่งเศส เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ พบวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสกล่าวกันว่าเขาเป็นบิดาแห่งปรัชญาสมัยใหม่เขาพยายามนำวิธีพิสูจน์หาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์มาใช้กับปรัชญา ความจริงที่เขาค้นพบและกล่าวไว้ในประโยคที่รู้จักกันดีคือ "ฉันคิดฉันจึงมีอยู่"(" I think, therefore I am" Except our own thought,There is nothingabsolutely in our power.)  René Descartes (ฉันคิดฉันจึงมีอยู่ยกเว้นความคิดของเราเองไม่มีอะไรอยู่ในอำนาจของเราอย่างแท้จริง) เรอเน เดส์การ์ตส์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์  1650  หรือปี พ.ศ. 2193 ที่กรุงสตอกโฮม  ประเทศสวีเดน ( Stockholm, Sweden ) รวมอายุได้ 54   ปี
ผลงาน
เดส์การ์ตส์ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักคิด "แห่งยุคสมัยใหม่" คนแรก เนื่องจากเป็นผู้วางรากฐานทางปรัชญาให้กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ในหนังสือ การครุ่นคิดเกี่ยวกับปรัชญาที่หนึ่ง (Meditations on First Philosophy) เขาพยายามหากลุ่มของหลักการที่สามารถเชื่อถือได้ว่าจริง โดยปราศจากข้อสงสัย เขาได้ใช้วิธีการที่เรียกว่า กังขาคติเชิงวิธีวิทยา (Methodological Skepticism) กล่าวคือ เขาจะสงสัยกับทุก ๆ ความคิดที่สามารถจะสงสัยได้
เขายกตัวอย่างของการฝัน: ในความฝัน ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของเราอาจรับรู้อะไรได้เหมือนจริง แต่สิ่งที่เรารับรู้นั้นล้วนไม่มีอยู่จริง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถรับประกันได้ว่าข้อมูลที่ได้จากประสาทสัมผัสนั้น เป็นสิ่งที่ต้องเป็นความจริง ไม่แน่ว่าอาจมี "ผู้จ้องทำลายที่ร้ายกาจ" ที่สามารถปิดบังเราจากการรับรู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่งได้ เมื่ออาจมีความเป็นไปได้เหล่านี้แล้ว จะเหลืออะไรบ้างที่เราสามารถเชื่อได้อย่างแท้จริง?
เดส์การ์ตส์พบความเป็นไปได้เพียงข้อเดียว: ถ้าฉันถูกหลอกได้ นั่นแปลว่า "ฉัน" จะต้องมีอยู่จริง วาทะที่โด่งดังของความคิดนี้คือ cogito ergo sum (หรือ "เพราะฉันคิด ฉันจึงมีอยู่") (คำพูดนี้ไม่ได้ถูกเขียนไว้ใน การครุ่นคิด แต่เขาได้เขียนไว้ในงานชิ้นก่อน Discourse on Method)
ดังนั้น เขาจึงสรุปว่าเขาสามารถแน่ใจได้ว่าเขามีอยู่จริง แต่คำถามก็คือเขานั้นมีอยู่ในรูปแบบใด? การที่ประสาทสัมผัสบอกว่าเรามีร่างกายอยู่นั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่จริงแท้ดังที่เขาได้พิสูจน์มาแล้ว เดการ์ตสรุปที่จุดนี้ว่า เขาสามารถกล่าวได้แค่ว่าเขาเป็น 'อะไรบางสิ่งที่กำลังคิด' เท่านั้น การกำลังคิดนั้นเป็นแก่นสารที่แท้ของเขา เนื่องจากว่าเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่อยู่เหนือการสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น
เขาอธิบายเพิ่มเติมเพื่อแสดงขีดจำกัดของประสาทสัมผัส โดยยกตัวอย่างของขี้ผึ้ง เขาพิจารณาชิ้นขี้ผึ้งชิ้นหนึ่ง ประสาทสัมผัสของเขาบอกให้ทราบถึงลักษณะต่าง ๆ ของขี้ผึ้งก้อนนั้น เช่นรูปร่าง ผิว ขนาด สี กลิ่น และอื่น ๆ อย่างไรก็ตามเมื่อเขานำขี้ผึ้งนั้นเข้าใกล้ไฟ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง แต่ก้อนขี้ผึ้งก้อนนี้อย่างไรก็เป็นก้อนเดิม แต่ว่าประสาทสัมผัสของเขานั้นบอกว่าลักษณะของมันไม่เหมือนเดิมแล้ว ดังนั้น การจะเข้าใจธรรมชาติของขี้ผึ้งได้นั้น เขาไม่สามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ เขาจะต้องใช้จิต เขาสรุปว่า "ดังนั้น สิ่งที่ฉันคิดว่าฉันเห็นด้วยตานั้น จริงแล้วฉันรู้มันโดยผ่านทางเครื่องมือสำหรับตัดสินใจ นั่นก็คือจิตของฉัน" เขาใช้วิธีในลักษณะนี้ในการสร้างระบบความรู้ โดยละทิ้งสัญชาน (ข้อมูลที่ได้จากการรับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส) เนื่องจากเชื่อถือไม่ได้ และยอมรับความรู้ที่สร้างผ่านทางการนิรนัยเท่านั้น ในช่วงกลางของ การครุ่นคิด เขายังได้อ้างว่าได้พิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าที่มีเจตนาดี ผู้มอบจิตที่สามารถทำงานได้ให้กับเขารวมถึงระบบรับรู้ และจะไม่หลอกลวงเขา ดังนั้นเขาจึงสามารถแสดงความเป็นไปได้ในการสร้างความรู้เกี่ยวกับโลก โดยใช้การนิรนัย ร่วมกับ ข้อมูลที่ได้จากการรับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
นักคณิตศาสตร์ยกย่องเดการ์ตจากการค้นพบเรขาคณิตวิเคราะห์ ในยุคสมัยของเดการ์ตนั้น เรขาคณิตซึ่งศึกษาเกี่ยวกับเส้นและรูปร่าง กับพีชคณิตที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวเลข ถูกจัดว่าเป็นสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เดการ์ตแสดงวิธีการแปลงปัญหาในเรขาคณิตมากมาย ให้เป็นปัญหาทางพีชคณิต โดยใช้ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนในการอธิบายปัญหา
ทฤษฎีของเดการ์ตเป็นพื้นฐานของแคลคูลัสของนิวตันและไลบ์นิซ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคณิตศาสตร์สมัยใหม่ ทั้ง ๆ ที่งานในส่วนนี้เดการ์ตตั้งใจจะใช้เพื่อเป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ในหนังสือ Discourse on Method เท่านั้น
ผลงานเขียน
1.Discourse on Method (ค.ศ. 1637, พ.ศ. 2180) : เขียนด้วยภาษาฝรั่งเศส
2.La Géométrie (ค.ศ. 1637, พ.ศ. 2180)
3.การครุ่นคิดทางปรัชญาที่หนึ่ง (Meditations on First Philosophy) (ค.ศ. 1641, พ.ศ. 2184) , หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า 'Metaphysic meditations' เป็นงานเขียนด้วยภาษาละติน
4.Les Principes de la philosophie (ค.ศ. 1644, พ.ศ. 2187) งานที่เขียนสำหรับนักเรียน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญ

England

America